วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2551

ภาพกิจกรรมการเรียนการสอน


วิชาการจัดการนวัตกรรมและสาระสนเทศ

วิชาการจัดการนวัตกรรมและสาระสนเทศ
หน่วยที่ 1 ความหมายและความสำคัญของนวัตกรรมและสารสนเทศนวัตกรรม หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่มีสาระอยู่ในตัว สามารถสื่อความหมายให้เกิดความเข้าใจกับผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลนั้น และสามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ การที่จะได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการนั้นจะต้องนำข้อมูล (data)ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจมาทำการประมวลผลเสียก่อน โดยข้อมูลที่นำมาประมวลผลนั้นอาจจะมาจากแหล่งข้อมูลทั้งภายในหรือภายนอกองค์การ (อ่านต่อ.....ใน Link)
หน่วยที่ 2 บทบาทของสารสนเทศในการบริหารองค์กรทางการศึกษาสารสนเทศยังมีบทบาท ดังนี้ 1. ช่วยลดความเสี่ยงในการตัดสินใจ (Decision) หรือช่วยชี้แนวทางในการแก้ไขปัญหา (Problem Solving)2. ช่วย หรือสนับสนุนการจัดการ (Management) หรือการดำเนินงานขององค์การ ให้มีประสิทธิภาพและเกิด ประสิทธิผลมากขึ้น3. ใช้ทดแทนทรัพยากร (Resources) ทางกายภาพ เช่น กรณีการเรียนทางไกล ผู้เรียนที่เรียนนอกห้องเรียน จริง สามารถเรียนรู้เรื่องต่างๆ เช่นเดียวกับ ห้องเรียนจริง โดยไม่ต้องเดินทางไปเรียนที่ห้องเรียนนั้น4. ใช้ในการกำกับ ติดตาม (Monitoring) การปฏิบัติงานและการตัดสินใจ เพื่อดูความก้าวหน้าของงาน5. สารสนเทศเป็นช่องทางโน้มน้าว หรือชักจูงใจ (Motivation) ในกรณีของการโฆษณาที่ทำให้ผู้ชม, ผู้ฟัง ตัดสินใจ เลือกสินค้า หรือบริการนั้น6. สารสนเทศเป็นองค์ประกอบสำคัญของการศึกษา (Education) สำหรับการเรียนรู้ ผ่านสื่อประเภทต่างๆ 7. สารสนเทศเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ส่งเสริมวัฒนธรรม และสันทนาการ (Culture & Recreation) ในด้าน ของการเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ เช่น วีดิทัศน์ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ เป็นต้น8. สารสนเทศเป็นสินค้าและบริการ (Goods & Services) ที่สามารถซื้อขายได้ 9. สารสนเทศเป็นทรัพยากรที่ต้องลงทุน (Investment) จึงจะได้ผลผลิตและบริการ เพื่อเป็นรากฐานของการ จัดการ และการดำเนินงาน (อ่านต่อ....ใน Link)
หน่วยที่ 3 นวัตกรรมทางการศึกษาและการบริหารการศึกษาในฐานะเครื่องมือทางการบริหาร นวัตกรรมมีบทบาทสำคัญซึ่งจำแนกได้ ดังนี้ 3.2.1 เป็นเครื่องมือในด้านการบริหารองค์กร เพื่อให้ดำเนินงานตามวิธีระบบและบรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะจัดการเกี่ยวกับ(1) การกำหนดจุดมุ่งหมายและนโยบายเกี่ยวกับ บทบาท วัตถุประสงค์ การเรียนการสอน ตัวผู้เรียน และการจัดทรัพยากรการเรียน ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกัน (2) การให้การสนับสนุน จะต้องมีการวางแผนการจัดหาทรัพยากร ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้งการวางแผนปฏิบัติงานและการประเมินผลงาน (3) การจัดบริการที่มีประสิทธิภาพ (4) การสร้างความประสานสัมพันธ์ให้มีการร่วมมือในการปฏิบัติงานของทุกหน่วยงานย่อยในองค์กร ตลอดจนวิธีการเผยแพร่ข่าวสารและการติดต่อสื่อสาร เพื่อให้การปฏิบัติงานดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและสำเร็จตามวัตถุประสงค์ 3.2.2 การเป็นเครื่องมือด้านธุรการ ได้แก่ การผลิตเอกสาร การนัดหมาย การทำ ทะเบียนนักศึกษา ทะเบียนครุภัณฑ์ การทำบัญชีการเงิน และการควบคุมงบประมาณ 3.2.3 ด้านการบริหารงานบุคลากร เป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้ด้านการบริหารงานบุคลากรเพื่อการแต่งตั้งบุคลากรเข้ารับตำแหน่งให้เหมาะสมกับหน้าที่ โดยสอดคล้องกับความสามารถของแต่ละบุคคล ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากการแต่งตั้งแล้ว เทคโนโลยียังสามารถใช้ในการสรรหา การคัดเลือกบุคลากร การพัฒนาบุคลากร การนิเทศงาน การบำรุงขวัญการทำงาน สวัสดิการ และการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร 3.2.4 การบริหารวิชาการ จะใช้เทคโนโลยีในการเก็บระเบียนผลการเรียน การวัดและการประเมินผล พร้อมทั้งการรายงานผลการเรียน 3.2.5 ด้านการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ โดยการผลิตสื่อต่าง ๆ เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์กิจการของสถาบันการศึกษา และการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างสถาบันการศึกษากับชุมชน(อ่านต่อ....ใน Link)
หน่วยที่ 4 การสื่อสารและระบบเครือข่ายการสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการองค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย 1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)5. ความเข้าใจและการตอบสนองประเภทของการสื่อสารการสื่อสาร มี 2 ประเภท คือ1. การสื่อสารทางตรง หมายถึง การสื่อสารระหว่างบุคคลโดยตรง ได้แก่ การพูด ปรึกษาหารือ การเจรจาซื้อขายการอภิปราย การนำเสนอด้วยวาจา2. การสื่อสารทางอ้อม หมายถึง การสื่อสารโดยผ่านสื่อกลาง ได้แก่ การประกาศ การให้ข่าว การโฆษณา การเขียนบทความ ฯลฯ หรือการสช้สื่อมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ นิตยสาร วารสาร แผ่นพับ ใบปลิวหรือการสื่อสารโดยใช้บริการโทรคมนาคม เช่น โทรศัพท์ โทรเลข โทรพิมพ์ และ การสื่อสารโดยอินเทอร์เน็ต อีเมล์เป็นต้น(อ่านต่อ....ใน Link)
หน่วยที่ 5 นวัตกรรมกับการพัฒนาระบบสารสนเทศการที่ระบบสารสนเทศจะสามารถทำงานได้ตรงตามความต้องการ รวดเร็ว และถูกต้องได้นั้นจำเป็นต้องมีการสร้างระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้กระบวนการพัฒนาระบบที่เรียกว่า ขั้นตอนการพัฒนาระบบ (Systems Delopment Life Cycle หรือ SDLC ) ดังนี้ 1. วิเคราะห์และกำหนดความต้องการของระบบงาน (System Analysis and Specification ) 2. ออกแบบขั้นตอนการแก้ไขปัญหา (System Design )3. เขียนชุดคำสั่ง (Program Coding )4. ทดสอบการทำงานของระบบงาน (System or Program Testing)5. ใช้งานและบำรุงรักษาระบบ (System Implementaion and Maintenance ) 6. จัดทำเอกสารประกอบระบบ (Documentation)(อ่านต่อ....ใน Link)
หน่วยที่ 6 การบริหารระบบสารสนเทศในองค์กรการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารทักษะที่มีความจำเป็นที่ผู้บริหารควรมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีดังนี้ คือ1. ทักษะในการพิมพ์เอกสาร ผู้บริหารมีความจำเป็นต้องสร้าง หรือทำเอกสารขึ้นด้วยตนเองบ้างในบางครั้งที่มีความจำเป็น หรือต้องการเก็บเป็นความลับ2. ทักษะในการเก็บรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ ผู้บริหารต้องสามารถรวบรวมข้อมูล และบันทึกเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ให้ได้ เพราะจะทำให้สามารถเรียกข้อมูลมาใช้ได้ทันทีเมื่อต้องการ3. ทักษะการใช้ e-mail และการประชุมร่วม เพื่อความสะดวกในการติดต่อสื่อสารที่มีความรวดเร็วและประหยัด4. ทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูล เพราะข้อมูลในปัจจุบันมีอยู่มากมายจึงมีความจำเป็นที่ผู้บริหารต้องมีการวิเคราะห์คัดเลือกข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์5. ทักษะในการสร้างรูปแบบ หรือสถานการณ์จำลอง เพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมขึ้น เป็นทักษะที่จะช่วยให้มีกระบวนการในการตัดสินใจ และเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมในการบริหารและจัดการได้ผู้บริหารจะต้องมองถึงประโยชน์ ความคุ้มค่า ความเป็นไปได้และมีการกำหนดขั้นตอนในการนำมาใช้ โดยพิจารณาถึงสิ่งที่มีอยู่แล้วทั้งในและนอกระบบของสถานศึกษา และสิ่งที่จะเกิดขึ้นทั้งในและนอกระบบของสถานศึกษา ความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่คาดว่าจะเกิดขึ้น การมองอนาคตเป็นความสามารถของผู้บริหารที่จะมีสายตาที่ยาวไกล มองเห็นภาพของความสัมพันธ์ในการใช้เทคโนโลยี ทั้งที่เป็นอยู่และในอนาคต เพื่อการกำหนดยุทธวิธีดำเนินงานเข้าสู่ความเปลี่ยนแปลง บรรลุถึงสิ่งที่หวังและตั้งใจให้เกิด ดังนั้นผู้บริหารจำเป็นต้องมี วิสัยทัศน์ ( Vision) ถ้าขาด วิสัยทัศน์ แล้วการใช้เทคโนโลยีจะไร้ทิศทาง และจะก่อให้เกิดความสูญเสียมากกว่าผลที่ควรจะได้รับข้อควรคำนึงของผู้บริหารที่มีต่อเทคโนโลยีสารสนเทศ1. ต้องเตรียมกำลังคนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ2. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา จำเป็นต้องมีการลงทุนในรูปของเครื่องมือและอุปกรณ์ ฉะนั้นต้องมีการบริหารงบประมาณที่เหมาะสม3. การเลือกใช้ข้อมูลสารสนเทศที่มีอยู่อย่างมากมายให้เหมาะสม ให้เกิดประโยชน์สูงสุด4. เทคโนโลยีสารสนเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ดังนั้นต้องมีการอบรมพัฒนาอย่างต่อเนื่อง5. ต้องติดตามความก้าวหน้าอยู่เสมอ มิฉะนั้นจะล้าหลัง ไม่สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นที่ทันสมัยกว่าได้6. ผู้บริหารต้องใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบในการตัดสินใจ เพราะการถ่ายทอดข้อมูลมีความรวดเร็วมาก7. ปรับเปลี่ยนบทบาทและยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น8. ต้องศึกษาด้านคอมพิวเตอร์และเนื้อหาวิชาของงานให้ลึกซึ้งขึ้น9. ผู้บริหารต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์ แยกแยะข้อมูลในการนำไปใช้ประโยชน์(อ่านต่อ....ใน Link)